ร้านค้าไร้พนักงานไทยเป็นเพียงกระแสหรือเป็นอนาคต

6470 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ร้านค้าไร้พนักงานไทยเป็นเพียงกระแสหรือเป็นอนาคต


มีบทความจากศูนย์นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ได้วิเคราะห์ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากร้านค้าไร้พนักงาน หรือ unmanned store ในประเทศจีนที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงปี 2017 และ 2018 แต่ก็เริ่มทยอยปิดตัวกันในเวลาต่อมาซึ่งบทความดังกล่าวได้วิเคราะห์ถึงความผิดพลาด 2 ประการคือ ร้านค้าดังกล่าวเลือกใช้สินค้าที่มีอายุสินค้ายาวนาน แทนอาหารสดหรืออาหารพร้อมทานซึ่งเป็นสินค้าที่นิยมเป็นอย่างมากในร้านสะดวกซื้อ เพราะการที่ไม่มีพนักงานมาบริหารจัดการ และ ค่าจ้างพนักงานแคชเชียร์ ไม่ใช่ต้นทุนหลักในการบริหารร้านสะดวกซื้อ แต่ ก็มีอีกบทความนึงในประชาชาติดอทเน็ตได้พูดถึงร้านค้าไร้พนักงานในสิงคโปร์ที่ถอดบทเรียนความผิดพลาดของร้านค้า

ประเภทนี้ในจีนมาทำให้ร้านค้าประเภทนี้เป็นที่นิยมและเริ่มขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เห็นว่าร้านค้าไร้พนักงานสามารถไปต่อได้ถ้านำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้บริโภค

กลับมายังบ้านเราในส่วนของร้านค้าไร้พนักงานก็ยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันเหมือนประเทศอื่นทั้งๆที่ธุรกิจค้าปลีกบ้านเราติดอันดับโลกในเรื่องของพัฒนาการการเจริญเติบโต  มีให้เห็นเพียงร้านค้า Scan N’ GO ที่ศศินทร์ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์เปิดเป็นร้านค้าไร้พนักงานแห่งแรกในประเทศไทยโดยใช้เทคโนโลยี AI ร่วมกับ RFID ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเอด้าซอฟท์ ตามมาด้วย ร้าน His & Her ของสหพัฒน์ ที่ใช้เทคโนโลยี RFID พัฒนาโนบริษัท True Digital และสุดท้ายก็เป็น SCG ที่นำเอาเทคโนโลยีของจีน BingoBox มาเปิดให้บริการ ซึ่งทั้งหมดก็ยังอยู่ในเฟสเริ่มต้น เพราะอะไรจึงทำให้การขยายตัวของร้านประเภทนี้ช้า หรือเป็นเพราะผู้ประกอบการอีกหลายราย ยังรอดูความเป็นไปได้ของร้านค้าไร้พนักงานในประเทศไทยกันอยู่ หรือเพราะต้นทุนที่สูงมีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจยาก

แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้บทความนี้เป็นแนวทางในการเลือกใช้เทคโนโลยีสำหรับร้านค้าไร้พนักงานได้อย่างเหมาะสม ก็ควรกลับมาดูที่ปัญหาหลักๆของร้านค้าในปัจจุบันก่อนว่ามีอะไรบ้างคัดมาในส่วนที่เทคโนโลยีไร้พนักงานน่าจะมาช่วยแก้ปัญหาได้
  • ประการที่ 1 : ขาดแคลนพนักงานแคชเชียร์ ทำให้การเปิดสาขาทำได้ยาก
  • ประการที่ 2 : การสแกนสินค้าทีละรายการทำให้ลูกค้ารอนาน
  • ประการที่ 3 : บางช่วงเวลาที่มีการขายดีต้องการแคชเชียร์เพิ่มขึ้น บางช่วงขายน้อยต้องลดแคชเชียร์ทำให้ต้องบริหารแคชเชียร์ไปทำหน้าที่อื่นช่วงที่ไม่ได้ขายของ

สำหรับเรื่องการขายสินค้าสด สินค้าพร้อมทานไม่ได้เป็นปัญหาของร้านค้าไร้พนักงาน เพราะในมุมของเทคโนโลยีสามารถนำมาขายได้เพียงแต่ต้องมีกระบวนการในการบริหารสินค้าที่มีวันหมดอายุ และมีการจัดการเรื่องการเปลี่ยนหรือเติมสินค้าให้เหมาะสม ซึ่งปกติร้านสะดวกซื้อทั่วๆไปก็สามารถบริหารสินค้าประเภทนี้ได้อยู่แล้วกล่าวโดยรวมถ้าในธุรกิจต้องการมีช่องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องมีพนักงาน หรืออาจมีพนักงานหนึ่งคนดูแลหลายๆช่องก็สามารถนำเอาเทคโนโลยีของร้านไร้พนักงานมาเสริมได้ เพื่อบริการลูกค้าให้รวดเร็วขึ้น ลดเวลาในการคิดเงิน และไม่เป็นการผลักภาระให้ลูกค้ามาเป็นผู้สแกนสินค้าแทนแคชเชียร์อีกด้วย ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งใช้ในเวลาต้องการขยายสาขาให้รวดเร็วการมีร้านค้าไร้พนักงานจะช่วยทำให้การเปิดร้านสาขาทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องหาพนักงานมาประจำที่ร้าน โดยเฉลี่ยทั่วๆไปหนึ่งร้านที่เปิด 24ชั่วโมงต้องการพนักงานประมาณ 7-10คน แต่อย่างไรก็ตามร้านค้าไร้พนักงานก็ยังต้องการพนักงานโอเปอเรชั่นที่ดูแลเรื่องการเติมสินค้า การจัดเรียงสินค้า และ การบริหารราคา โปรโมชัน เช่นเดิมเพียงแต่ส่วนงานเหล่านี้เป็นงานหลังบ้านไม่ต้องประจำ

อ้างอิงค์จาก www.ada-soft.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้